วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การใช้งานโปแกรม NetBeans เบื้องต้น


สำหรับมือใหม่หรือผู้ที่เริ่มต้นการเขียนโปรแกรมนั้น โปรแกรมประเภท TextEditer เช่น Editlus, Notepad++ มีความสำคัญที่มาก เพราะช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมได้มากทีเดียว แต่ถ้าพูดถึงการเป็นโปรแกรมเมอร์ระดับมืออาชีพแล้ว ก็ควรจะมีตัวช่วยที่ดีกว่า ฉลาดกว่า ช่วยเราจัดการงานเขียนโปรแกรมได้ดีกว่า Text Editor ที่ได้กล่าวมา ซึ่งเราจะเรียกพวกนี้ว่า IDE (Integrated Development Environment)
ถ้าจะให้อธิบายเกี่ยวกับ IDE ง่ายๆ มันก็คือ องค์ประกอบหรือตัวช่วยต่างๆ ที่จะคอยช่วยเหลือผู้พัฒนา Application ต่างๆ เพื่อเสริมให้เกิดความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ตรวจสอบระบบที่จัดทำได้ทั้งเชิงลึกหรือตื้น มีผลทำให้การพัฒนางานต่างๆของเรานั้นเร็วมากขึ้นนั่นเอง     IDEนั้นมีมากมายหลายตัวซึ่งรองรับโปรแกรมหลายๆภาษาที่ต่างกัน แต่สำหรับภาษาจาวานั้น IDE ที่นิยมใช้กันมีอยู่ 2 เจ้าคือ Netbeans กับ Eclipse ซึ่งในบทความนี้เราจะพูดถึงการใช้งาน NetBeans เป็นเครื่องมือที่แจกฟรี โดยมี บริษัท Oracle(Sun Micro System) เป็นผู้สนับสนุนโครงการ ทำให้เราสามารถมั่นใจได้ว่า เครื่องมือนี้จะเป็นสามารถรองรับมาตรฐานใหม่ๆ ของจาวาในอนาคตได้อย่างแน่นอน
การติดตั้ง NetBeans

2.    เลือก JDK + NetBeans Bundle


           3.   กด Accept License Agreement หลังจากนั้นก็ลือกชุดติดตั้งให้ตรงกับระบบปฏิบัติการของเครื่อง


               4.     ทำการดาวน์โหลดชุดติดตั้ง และติดตั้งลงบนเครื่อง
               5.     เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วสามารถเข้าใช้งานได้เลยในทันที แต่หากมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้งาน ซึงมักจะเป็นปัญหา The JDKmissing and is required to run some Netbean Module ซึ่งหมายถึง NetBeans หาตัว JDK ไม่เจอให้เข้าไปที่ C:\Program Files (x86)\NetBeans 6.9.1\etc\netbeans.conf แล้วแก้ path ของตัว JDK ให้ตรงกับตำแหน่งที่เรามีดังภาพ


             

             เริ่มต้นการใช้งาน NetBeans
          1.   เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาจะพบว่ามีหน้าตาดังนี้

          
           2.   เราสามารถทำการสร้าง ”โปรแกรม” หรือในนี้เรียกว่า”โปรเจค”ได้ โดยคลิกที่



          3.   พอคลิกแล้ว จะพบหน้าต่างดังนี้


 ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าจะสร้างโปรเจคประเภทไหน สำหรับผู้เริ่มต้นให้เลือก Java Application จากนั้นกด Next จะพบหน้าต่างดังนี้   เราสามารถตั้งชื่อ Application ของเราได้ โดยจะตั้งชื่อว่า “NewbieApp” และกด Finish เมื่อสร้างโปรเจคขึ้นมา


          4.  เราจะได้โปรเจคของเราขึ้นมา ซึ่ง NetBeans ได้จัดโครงสร้างโฟลเดอร์ต่างๆ ไว้ให้เป็นระเบียบดังรูป


          5.  ให้เราลองพิมพ์คำสั่ง System.out.println("Hello Newbie Noob Nobb Noob !!!")
ลงไปดังภาพซึ่งเป็นคำสั่งที่ผิดหลักไวยากรณ์ของภาษาจาวาคือ ลืมใส่ “;” เราจะเห็นว่า NetBeans จะมีสัญลักษณ์กากบาทสีแดงขึ้นมา


             โดยเราสามารถเอาเมาส์ไปชี้ที่มันเพื่อดูว่าผิดพลาดเพราะอะไรได้ และเมื่อเติม ; เข้าไปแล้วกากบาทแดงก็จะหายไป



          6.  ให้เราลองพิมพ์สำสั่ง x = 8; ลงไป คำสั่งที่ผิดหลักไวยากรณ์ของภาษาจาวาคือ ลืมประกาศตัวแปร x
ซึ่ง NetBeans จะมีสัญญลักษณ์หลอดไฟสีเหลืองขึ้นมา ซึ่งหมายถึงข้ออผิดพลาดนี้สามารถให้ NetBeans ช่วยแก้ให้ได้


           และเมื่อกดที่สัญญลักษณ์ดังกล่าวจะมีตัวเลือกขึ้นมาให้เลือกว่า จะให้ NetBeans ช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดนี้อย่างไร ซึ่งเมื่อเลือกข้อบนสุดแล้ว NetBeans จะทำการประกาศตัวแปร x ให้เรา ทำให้ข้อผิดพลาดนั้นหายไป




          7.  เราสามารถสั่งให้ NetBeans Run Project ของเราได้ โดยกดคีย์ลัด F6 หรือกดที่เครื่องหมายสามเหลี่ยมสีเขียวดังภาพ หรือที่ช่องทางด้านซ้ายมือ คลิกขวาที่ไฟล์ที่ต้องการจะรัน แล้วเลือก Run ดังภาพ




          8.   ผลจากการรันโปรแกรมหรือโปรเจคจะแสดงออกทาง Output Console ด้านล่างดังภาพ


          9.   เราสามารถสร้างไฟล์เพิ่มในโปรเจคของเราได้ โดยคลิกขวาในที่ที่เราต้องการจะสร้างไฟล์ใหม่ จากนั้นเลือก new จากนั้น จึงเลือกประเภทของไฟล์ที่ต้องการจะสร้าง โดยในภาพนั้นเราจะสร้าง class ใหม่ชื่อ “Noob”


          10.   ใน class Noob นั้นเราจะสร้างตัวแปรขึ้นมาหนึ่งตัว


                     ซึ่งโดยทั่วไปการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุนั้น attribute บางตัวของ class อาจจะทำเป็นต้องใช้ getter / setter method หรือการสร้าง constructor สำหรับ class ซึ่ง NetBeans มีฟังก์ชั่นที่จะช่วยสร้าง getter / setter / constructor method ให้เราได้ ดังภาพ




          11.   ในNetBeansยังช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้คำสั่งต่างๆของภาษาจาวารวมไปถึงโครงสร้างข้อมูลที่เราเขียนขึ้นเอง เช่น classต่างๆอีกด้วยโดยจะมีคำอธิบายรวมถึงรายชื่อคำสั่งต่างๆที่เกี่ยวข้อมาให้เราเลือกใช้ตามสะดวกดังภาพ



*******สุดท้ายนี้ หวังว่าผู้อ่านบล๊อคคงจะได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ ^ ^ *******


          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น